インバウンドでタイ人を集客! 事例多数で万全の用意 [PR]
ナムジャイブログ

ナナのブログへようこそ!

ミャー♪ヽ(∇⌒= ) ยินดีต้อนรับสู่ Blog ของ "นานะ" ( =⌒∇)ノミャー♪

J-Translate

「逆転力~ピンチを待て~」(Gyakutenryoku ~Pinch wo Mate~) บทที่ 3

「逆転力~ピンチを待て~」(Gyakutenryoku ~Pinch wo Mate~)
รอวิกฤต...เพื่อพลังแห่งการพลิกผัน

「逆転力~ピンチを待て~」(Gyakutenryoku ~Pinch wo Mate~) บทที่ 3


ท้าทายด้วยการโดดบันจี้จั๊มพ์ 2 ครั้ง ตามแผนในรายการ แต่สุดท้ายก็ไม่สามารถโดดลงไปได้ การมุ่งหน้าเอาชนะของ “เฮตาเระซาชิโกะ” (ยัยกากศรี) จึงได้เริ่มขึ้นจากที่นี่

บทที่ 3 ยอมรับคาแรกเตอร์โดยไม่อาจปฏิเสธได้

เมื่อได้ยินชื่อ...ซาชิฮาระ ริโนะ ทุกคนคิดว่าอิมเมจแบบไหนที่จะลอยออกมาคะ? แน่นอน ต้องเป็น “เฮตาเระ” (ยัยกาก) ใช่ไหมล่ะ?

คาแรกเตอร์นี้ไม่ได้เป็นคาแรกเตอร์ที่ฉันเป็นคนเลือกด้วยตนเองหรอกนะ แต่เผลอแป๊บเดียว ก็กลายเป็นคาแรกเตอร์แบบนั้นไปซะแล้วล่ะค่ะ

อันที่จริงแล้ว ฉันมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับการพลิกผันด้วยล่ะ แต่ก่อนอื่นขอเริ่มจากเรื่องนี้ก่อนนะ

วิกฤตที่เรียกว่า บันจี้จั๊มพ์

ในระหว่างที่ฉันกำลังตกอยู่ในวิกฤต สถานการณ์หนึ่งที่ถูกนับอยู่ภายในนิ้วทั้งห้าก็คือ ตอนที่ต้องท้าทายตัวเองด้วยการโดดบันจี้จั๊มพ์ในรายการวาไรตี้ (รายการ “Shukan AKB” ทางช่อง TV Tokyo ตอน “ศึกค้นหาราชินีผู้กล้าหาญ ครั้งที่ 1” ออกอากาศเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2009)

มันคือการโดดบันจี้จั๊มพ์จากบนสะพานความสูง 42 เมตร ค่ะ

ตอนนั้น รุ่นพี่ของฉันอย่างโทโมะจินซัง (อิตาโนะ โทโมมิ), โทโมมิจัง (คาไซ โทโมมิ) และโมเอโนะ (นิโต้ โมเอโนะ) เพื่อนร่วมรุ่นเดียวกันได้โดดลงไปและประสบความสำเร็จลงด้วยดี ส่วนตัวฉันนั้นต้องโดดลงไปเป็นคนที่ 4

ไม่ไหว ไม่สามารถโดดลงไปได้จริงๆ

ตอนนั้นรู้สึกว่าไม่ได้การแล้วล่ะ ฉันมันไม่ได้เรื่องจริงๆ แม้ในยามปกติ สถานภาพของตนเองเมื่อสมัยก่อนนั้นจะอ่อนแอจนไม่สามารถเข้าไปถึงระดับสมาชิกเซมบัตสึในงานเลือกตั้งได้ แต่เพียงเท่านี้ก็รู้สึกได้ถึงอันตรายแล้ว

ไม่ได้หมายความว่าฉันเป็นโรคกลัวความสูงขนานหนักหรอกนะ แน่นอนว่าฉันเคยมีความรู้สึกกลัวเพราะมันสูง ไม่ได้อ่อนหัดถึงขนาดกับหมดสติเพราะคิดว่าทำไม่ได้แน่นอน แต่ฉันก็ไม่โดด ก็ฉันยังไม่อยากเข้าใกล้ความตายนี่นา!

ถ้าหากว่าเป็น Jet Coaster (รถไฟเหาะตีลังกา) ฉันคิดว่าไม่น่าเป็นไรนะ เพราะมันยังสามารถพัฒนาสภาพของตัวเองไปในระหว่างที่กำลังขึ้นรถไฟเหาะได้ใช่ไหมล่ะ? แต่สำหรับบันจี้จั๊มพ์เราต้องตัดสินใจกระโดดลงไปด้วยตัวเอง ดังนั้นเรื่องนี้จึงไม่สามารถทำได้ค่ะ

ก็เพราะว่าเป็นสิ่งที่อยู่ใกล้กับความตายเพียงก้าวเดียวไม่ใช่หรือคะ? แม้ว่าหากทำลงไปแล้วจะไม่มีความเป็นไปได้ที่จะเข้าใกล้กับความตาย แต่ความเป็นไปได้ที่เมื่อทำสิ่งนั้นแล้วจะเข้าใกล้สู่ความตายอยู่ 0.X% มันก็มีมากขึ้นใช่ไหมคะ? ทำไมตัวเองต้องมาทำสิ่งนั้นด้วยนะ

ฉันยังไม่อยากตายจริงๆ ค่ะ คนที่มีชีวิตอยู่ด้วยจิตใจอันมุ่งมั่นว่า “ไม่อยากตาย!” ก็คือตัวฉันนี่แหละ ดูเหมือนจะเป็นความตั้งใจต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เพราะตัวฉันเองอยากมีความสุขที่สุดค่ะ

ฉันได้ประกาศในสตูดิโอไปว่า “ฉันจะขอแก้ตัวอีกครั้งนะคะ!!” ทางคุณสตาฟก็เกรงใจฉันและเข้ามาเตรียมสถานที่อีกครั้งโดยทันที ฉันได้ฝึกซ้อมที่ยิมนาสติกคลับของคุณอิเคทานิ ยูคิโอะ อยู่หลายวัน และกลับมาท้าทายตัวเองอีกครั้งด้วยการโดดบันจี้จั๊มพ์ที่โยมิอุริแลนด์ มันสูงประมาณ 22 เมตรค่ะ นี่มันเป็นเครื่องเล่นตามปกติของสวนสนุกงั้นหรอกหรอ?

โดดไม่ได้...

แหงล่ะ ก็ฉันยังไม่อยากเข้าใกล้ความตายนี่นา!

โอกาสที่เรียกว่า “ยัยกาก”

หลังจากที่ความล้มเหลวในการโดดบันจี้จั๊มพ์ถูกออกอากาศ ฉันก็เริ่มถูกคนรอบข้างเรียกว่า “เฮตาเระ” หรือ “ยัยกาก” ค่ะ

ตอนแรก ฉันเองก็ไม่เข้าใจ เพราะคำว่า “ยัยกาก” เป็นคำดูถูกเหยียดหยาม เพราะฉันได้รับฉายาด้วยอารมณ์ที่คล้ายๆ กับฉายา “CG” ของมายูยุ (วาตานาเบะ มายุ) ก็เลยคิดว่ามันจะเป็นคาแรกเตอร์ที่ติดตัวเราหรือเปล่า ฉันรู้สึกว่าความภาคภูมิใจในตัวเองมันลดต่ำลงจริงๆ เพราะคิดว่ามันเป็นคำนินทา จึงรู้สึกว่าถ้าหากพวกเขาสนใจ มันจะดีหรือเปล่านะ

หลังจากนั้นประมาณ 2 ปีผ่านไป คุณอาคิโมโตะได้บอกฉันว่า “มีแฟนๆ ที่คอยให้กำลังใจจุดอ่อนที่เป็นคาแรกเตอร์ยัยกากของซาชิฮาระอยู่มากเลยนะ” ฉันก็เลยรู้สึกว่า “อา... อย่างงั้นเหรอ โชคดีจัง!” เมื่อถูกคนรอบข้างพูดถึงเกี่ยวกับความเป็นยัยกากนี้ ตัวฉันเองก็ได้เพียงแต่คิดขึ้นมาว่ามันก็เป็นไปตามนั้นนั่นแหละค่ะ

ฉันขอพูดความจริงหน่อยได้ไหมคะ? ฉันเคยคิดมาตั้งแต่ในตอนนั้นว่า “จริงๆ แล้ว ตัวฉันเองไม่ได้เป็นยัยกากจริงๆ ใช่มั้ยนะ?”

สาเหตุที่ทำให้ฉันถูกเรียกว่ายัยกาก มันมาจากการที่ฉันไม่สามารถโดดบันจี้จั๊มพ์ได้ก็จริง แต่ด้วยในตอนนั้นที่ฉันตัดสินใจไม่โดดต่อหน้าสตาฟอย่างไม่เกรงกลัวอะไรมาตั้งแต่แรก ฉันจึงคิดว่าตัวฉันไม่ได้เป็นยัยกากค่ะ เรียกว่ามีจิตใจที่เข้มแข็งน่าจะดีกว่า ยิ่งไปกว่านั้น การพูดออกมาด้วยตัวเองว่าอยากจะขอแก้ตัวแล้วทำให้ผู้ใหญ่ต้องมาจัดเตรียมสถานที่แต่สุดท้ายก็ตัดสินใจไม่โดดนั้น ช่างเป็นการกระทำที่แข็งแกร่งจริงๆ ค่ะ

แต่ก็เพราะวิกฤตในการปฏิเสธบันจี้จั๊มพ์ในตอนนั้น โอกาสที่เรียกว่าคาแรกเตอร์ยัยกากจึงได้อุบัติขึ้นมาแบบที่ไม่มีอะไรผิดพลาด การที่มีคาแรกเตอร์นี้ติดตัวและมีการพูดต่อกันเรื่อยๆ จึงทำให้สถานการณ์ที่ล้อมรอบตัวเองได้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นอย่างรวดเร็วค่ะ

คาแรกเตอร์ไม่ใช่สิ่งที่สร้างขึ้นมา แต่เป็นสิ่งที่ได้รับ

เพื่อการสร้างที่อยู่ของตัวเองภายในวงและเพื่อการทำให้เป็นที่สะดุดตา ฉันคิดว่าคาแรกเตอร์ที่ติดตัวเป็นสิ่งที่สำคัญนะคะ ซึ่งก็น่าจะมีคนที่กังวลในเรื่องนี้อยู่มากเลยล่ะ

ฉันมีข้อสรุปเกี่ยวกับคาแรกเตอร์ที่ออกมาจนกลายเป็นตัวฉันค่ะ

คาแรกเตอร์ไม่ใช่สิ่งที่สร้างขึ้นมาด้วยตัวเอง แต่เป็นสิ่งที่ได้รับ

การตัดสินใจล่วงหน้าด้วยตัวเองว่า “ฉันมีคาแรกเตอร์แบบนี้นะ” ก็อาจจะเป็นการหลบเลี่ยงได้ดีกว่า แต่ถ้าหากยึดติดกับคาแรกเตอร์นั้นแล้ว ภาวะเสี่ยงที่จะลอยหายไปจากวงก็จะยิ่งมากเลยทีเดียวนะคะ

การพูดยืนยันออกมาต่อหน้าว่า “ฉันมีคาแรกเตอร์แบบนี้ค่ะ” ก็อาจจะดูไม่ค่อยเป็นผลดีเท่าไหร่ เพราะพลังการส่งสัญญาณจากตัวเองเพียงผู้เดียวมันอ่อนเกินไปนะคะ ดังนั้น ฉันจึงคิดว่าก่อนอื่นต้องทำให้คนรอบข้างรู้สึกสนุกและยอมรับคาแรกเตอร์นั้นก่อน แล้วคาแรกเตอร์นั้นก็จะติดตัวเราไปค่ะ

ในตอนแรกสุด ให้ลองคิดแบบเซฟๆ โดยการกำหนดคาแรกเตอร์ของตัวเองเอาไว้ให้เป็น “คนที่ไม่มีอะไรเลย” หลังจากนั้น ก็นั่งรอแบบนิ่งๆ จนกว่าคนรอบข้างจะพูดขึ้นมาว่า “〇〇เป็นคนที่มีคาแรกเตอร์แบบนี้ค่ะ” และคาแรกเตอร์นั้นก็จะโดดเด่นขึ้นมา การที่คนรอบข้างไม่ปฏิเสธคาแรกเตอร์ที่ติดตัวเรามาจึงนับว่าเป็นเรื่องที่ดีมากเลยค่ะ

อย่างไรก็ตาม การที่สามารถคงคาแรกเตอร์ของตัวเองเอาไว้ได้โดยที่ไม่รู้สึกฝืน มันเป็นเรื่องที่อยู่ในอุดมคตินะคะ ลองทำไปซักระยะหนึ่งก่อนว่าตัวเองจะสามารถมีคาแรกเตอร์นั้นได้มากน้อยขนาดไหน แต่ถ้าหากเริ่มรู้สึกแม้แต่เพียงนิดเดียวว่ามันไม่ใช่แล้ว ก็เปลี่ยนคาแรกเตอร์เป็นแบบอื่นจะดีกว่าค่ะ

ยกตัวอย่างเช่น ถ้าหากสามารถตั้งคาแรกเตอร์ได้อย่างมั่นคงแบบมิลค์กี้ (วาตานาเบะ มิยูกิ) ฉันคิดว่าคาแรกเตอร์เด็กแอ๊บแบ๊วก็โอเคดีนะ แต่การที่เป็นเด็กแอ๊บแบ๊วแบบครึ่งๆ กลางๆ ก็จะทำให้รู้สึก “เจ็บปวด” ท่ามกลางกลุ่มเด็กสาวด้วยกันนะคะ

การดูให้แน่ใจว่าคาแรกเตอร์ที่ตั้งเอาไว้จะเหมาะกับตัวเองหรือไม่ คิดว่าควรตรวจสอบให้แน่ใจด้วยตัวเองจะดีกว่าค่ะ

ถ้ารู้สึกลังเลว่าจะทำหรือไม่ทำดี ก็ให้ทำมันซะ

มีอยู่บ่อยครั้งที่มีคนพูดทำนองว่า “ก็เพราะมันไม่ใช่คาแรกเตอร์ของตนเอง” แต่ฉันกลับไม่ได้รู้สึกเช่นนั้นเลยค่ะ

ยกตัวอย่างเช่น เมื่อถูกบอกอย่างกะทันหันว่า “ช่วยกรุณาทำท่าเลียนแบบ” ในรายการวาไรตี้ ก็คิดว่าจะทำอะไรดี แล้วก็ทำให้เข้ากับบรรยากาศในสถานที่นั้นๆ โดยไม่คิดว่าสิ่งนั้นเป็นเรื่องน่าอายเลย

ถึงจะเป็นสถานที่แบบนั้น แต่ก็รู้สึกว่าทำให้ความภาคภูมิใจลดต่ำลง เป็นความภาคภูมิใจที่คลานลงสู่พื้นดิน เป็นความภาคภูมิใจที่อยู่บนเส้นขอบฟ้า

แต่ก็เป็นความภาคภูมิใจที่ลดต่ำลงแล้วรู้สึกดีจังเลยนะ

ได้ลองมองดูคนที่มีทีท่าว่ากำลังเขินอายแล้วรู้สึกว่ามันเป็นอาการเขินอายหรือเปล่าคะ? เมื่ออีกฝ่ายกำลังมีท่าทางเขินอาย ลองทำทุกอย่างให้เป็นไปอย่างลื่นไหลดูนะคะ

การถูกวางตัวต่อเรื่องมุขใต้สะดือก็ไม่ได้เป็นเรื่องน่าอายเท่าไหร่ค่ะ ถ้าหากพูดออกไปทำนองว่า “เรื่องแบบนั้นมันน่าอาย ช่วยหยุดพูดเถอะค่ะ” บทสนทนาก็จะหยุดลื่นไหลไปเลย ฉันคิดว่ามันไม่จำเป็นเลยที่จะพูดนำออกไปแบบนั้นนะคะ แต่ถ้าหากลองเปลี่ยนคำพูดให้เป็นทำนองว่า “กรุณาอย่าพูดเรื่องแปลกๆ เลยนะคะ~” บทสนทนาก็จะลื่นไหลต่อไปไม่หยุดค่ะ

การทิ้งความภาคภูมิใจออกไป ฉันคิดว่ามันก็มีประโยชน์อยู่หลายอย่างนะ ถึงแม้ว่ามันจะมีงานที่ทำให้เรารู้สึกว่า “ทำไมฉันถึงต้องมาทำอะไรแบบนี้ล่ะ ไม่อยากทำแล้ว” แต่ถ้าหากเราตัดสินใจว่าจะทำหรือไม่ทำงานนี้ดี การลงมือทำจะได้ประโยชน์มากกว่าค่ะ

แม้จะมีแพทเทิร์นที่ให้ทำในสิ่งที่ “ฉันไม่สามารถทำได้หรอก” แต่การได้ลงมือทำก็ย่อมคุ้มค่าอย่างแน่นอน มันน่าเสียดายนะคะในเวลาที่พูดออกไปตั้งแต่แรกว่า “จะทำอย่างไรดี” ดังนั้นให้ตัดลดทอนเวลาที่ทำให้รู้สึกกังวลเท่าที่จะทำได้ดูนะคะ

ในความเป็นจริงแล้ว ก็อาจจะมีคิดอยู่บ้างว่า “ไม่มีความหมายเลยนะ” หรือ “งานนี้มันอะไรกันเนี่ย” แต่ “การลงมือทำก็ยังดีกว่าไม่ทำ” ค่ะ

การที่คุณค่าของตัวเองลดลงเมื่อทำงานนั้นและการที่คุณค่าของตัวเองลดลงเมื่อไม่ได้ทำงานนั้น ถ้าหากถามว่าแบบไหนมันแย่กว่ากัน มันต้องเป็นการที่คุณค่าของตัวเองลดลงเมื่อไม่ได้ทำงานนั้นไม่ใช่หรือคะ?

มันเป็นเรื่องอิสระที่จะมานั่งสับสนลังเล ไม่ว่าจะเป็นความเขินอาย การที่กังวลว่าตัวเองจะมีความหมายหรือเปล่านะ หรือตัวเองจะสามารถทำได้หรือเปล่านะ แต่ถ้ารู้สึกลังเลว่าจะทำหรือไม่ทำดี ก็ให้เลือกที่จะทำมันซะ

คาแรกเตอร์ที่ยืนหยัดด้วยการถูกหยอกล้อ

พูดถึงเรื่องคาแรกเตอร์ ท้ายที่สุดแล้วก็อาจจะเป็นเรื่องของความภาคภูมิใจค่ะ วิธีการพูดที่บอกว่า “ก็เพราะฉันไม่ได้มีคาแรกเตอร์แบบนั้นนี่นา” มันก็น่าจะทำให้ความภาคภูมิใจในตัวเองสูงขึ้นมามากเลยทีเดียวนะคะ

ถ้าหากตัวฉันน่ารักมากกว่านี้ ความภาคภูมิใจก็อาจจะสูงขึ้นนะ ถ้าหากเป็นคนสวย ก็อาจจะคิดได้ว่า “แค่เราสวยก็เพียงพอแล้วล่ะ” แต่การเป็นคนสวย เรียบร้อย ที่ไม่มีคาแรกเตอร์ มันก็แทบจะไม่มีความหมายอะไรเลย

การที่ตัวเองมีความภาคภูมิใจต่ำ ฉันคิดว่ามันต้องคุ้มค่าอย่างแน่นอนค่ะ

ยกตัวอย่างเช่น การที่ตัวเองมีหน้าอกเล็ก สำหรับฉันแล้ว มันเป็นหนึ่งในเรื่องที่น่าน้อยเนื้อต่ำใจนะคะ อาจจะถูกผู้คนรอบข้างคิดว่า “น่าสงสารจัง” แต่มันก็ไม่สามารถแก้ไขอะไรได้

ถ้าหากพยายามสร้างมุขที่มาจากตัวเองให้ไปในทิศทางที่ “สนุก” มันก็น่าจะดีนะ และการพูดออกไปโดยที่ไม่รู้สึกอายมันก็ดีกว่าการปกปิดเอาไว้นะคะ

เพราะคิดว่าเรื่องที่น่าน้อยเนื้อต่ำใจของตัวเองเป็น “เรื่องน่าอาย” ก็เลยทำให้กลายเป็นแผลเจ็บลึกที่ติดตัว ถ้าหากเป็นเช่นนั้นแล้ว ขอให้ทิ้งความรู้สึก “น่าอาย” ออกไปค่ะ ฉันเองก็มีจุดที่ให้ความรู้สึกถึงความเป็นคนอเมริกัน โดยที่ไม่ได้คาดคิดมาก่อนว่าตัวเองค่อนข้างทำตัวเพิกเฉย ไม่ได้สนใจอะไรหรือเปล่าน่ะค่ะ

เรื่องราวเกี่ยวกับยัยขี้เหร่เองก็เช่นกัน ตอนสมัยที่ฉันยังอยู่ที่โออิตะ ก็เคยคิดว่าตัวเองก็น่ารักดีอยู่นะ แต่พอมาอยู่โตเกียว ความคิดก็เปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง ฉันจำได้ว่าตัวเองเป็นคนที่เริ่มพูดออกมาว่าขี้เหร่ก่อนที่จะถูกบอกจากคนอื่นๆ แต่ฉันก็คิดว่าการถูกพูดผ่านเว็บไซต์อย่าง 2ch ก็เป็นขั้นตอนที่ไวดีค่ะ

เมื่อสักครู่นี้ฉันได้พูดออกไปว่าการเป็นคนสวยที่เรียบร้อยนั้นไม่มีความหมายอะไรเลย แต่ฉันคิดว่าการเป็นคนขี้เหร่ที่เข้าถึงยากนั้นมันช่างเลวร้ายที่สุดเลยล่ะค่ะ

ถ้าหากฉันพูดกับทุกคนรอบข้างว่า “กรุณาอย่าพูดคำว่าขี้เหร่เลยค่ะ!” พวกเขาก็จะบอกว่า “ก็ได้นะ เพียงแต่ฉันก็จะไม่มีเรื่องอื่นให้พูดก็เท่านั้นเอง” แล้วพวกเขาก็จะคอยระวังสิ่งที่จะต้องพูดกับฉัน แต่ถ้าหากฉันพูดออกไปว่า “คำว่าขี้เหร่ พูดได้ค่ะ!” พวกเขาก็อาจจะเข้ามาหยอกล้อฉันได้

ถ้าหากพวกเขาเข้ามาหยอกล้อได้ ตัวฉันก็จะสามารถก้าวออกไปสู่ข้างหน้าได้ในรูปแบบการรีแอคชั่น การที่คาแรกเตอร์ของตัวเองสามารถยืนหยัดได้จากการถูกคนรอบข้างหยอกล้อ คนที่ทำแบบนั้นแล้วได้ออกมาสู่วงการก็คือผู้หญิงที่ชื่อซาชิฮาระนี่แหละค่ะ

แต่เดิมทีตัวฉันเองก็ไม่มีความภาคภูมิใจในตนเองอยู่แล้วก็เลยรู้สึกว่าไม่เป็นไร แต่ก็อาจจะมีคนที่ไม่ชอบการกลั่นแกล้งหยอกล้ออยู่มากเหมือนกันนะคะ อาจจะรู้สึกว่ามันเป็นเรื่องที่น่าขมขื่น แต่ในเวลาแบบนั้นก็ต้องอดทนเพื่อตัวเองค่ะ

ถ้าหากสามารถทำบางสิ่งบางอย่างได้ด้วยกำลังของตนเอง ก็จะรู้สึกว่าไม่จำเป็นที่จะต้องอดทนกับการถูกกลั่นแกล้งหยอกล้อจากผู้คน แต่ถ้าคิดว่าไม่สามารถทำบางสิ่งบางอย่างได้ด้วยกำลังของตนเอง สิ่งที่สามารถพึ่งพาได้ก็ขอให้พึ่งพาเอาไว้ดีกว่าค่ะ แต่ถึงกระนั้นหากตนเองไม่ได้มีความน่าสนใจ แล้วคนรอบข้างจะมาสนใจตัวเราเองได้อย่างไรจริงไหมคะ?

ทลายกำแพงด้วยการหยอกล้อ

อาจจะนอกเรื่องซักหน่อย แต่ในคาแรกเตอร์หยอกล้อนี่ก็มีข้อดีที่สามารถมองเห็นได้เป็นอย่างดีด้วยนะคะ

ตั้งแต่เดือนเมษายนนี้ (ปี 2014 : ปีที่ซัซชี่เขียนหนังสือเล่มนี้) (คิโมโตะ) คานอน จาก SKE48 จะมาอยู่ควบวง HKT48 ค่ะ

ใน MC ช่วงแรกของคอนเสิร์ต “AKB48 Group Haru Con in Saitama Super Arena ~Omoide wa zenbu koko ni sutete ike!~” ซึ่งเป็นคอนเสิร์ตแรกที่ได้เริ่มทำกิจกรรมในฐานะสมาชิกควบวง ฉันได้ทำการแนะนำคานอน แต่จู่ๆ ฉันก็ได้แซวเรื่องคางลงไป

ฉันได้พูดและถามคานอนไปว่า “ฉันไม่อยากให้คนที่เป็นแฟนๆ SKE48 โกรธนะ แต่การที่แซวเรื่องคางนั้นไม่เป็นไรใช่มั้ย?” ก็คางของคานอนมันแหลมแบบได้ฟีลมากๆ จริงๆ นะคะ

และทันทีที่คานอนบอกว่า “ไม่เป็นไรค่ะ!” ฉันก็รู้สึกได้ว่ากำแพงของคนที่อยู่ในสถานะเมมเบอร์เหมือนกันได้หายไปอย่างแน่นอน และคิดว่าแฟนๆ HKT48 เองก็มีท่าทีที่คิดว่าน่าจะสามารถรับได้ ถ้าหากเด็กที่เป็นที่นิยมใน SKE48 เข้ามา ก็คิดว่าน่าจะมีแฟนๆ ที่มีความรู้สึกอยากจะผลักไสไล่ส่งออกไป และกลัวว่าอาจจะทำให้สมาชิกที่ตัวเองโอชิอยู่ถูกลดลำดับลงไปค่ะ

การแสดงออกให้เห็นถึงความสนิทสนมคุ้นเคยโดยที่สามารถแซวเล่นกันได้นั้นย่อมดีกว่าการเล่นเป็นเจ้าหญิงที่ดูเป็นแขกรับเชิญซะอีกค่ะ ซึ่งก็จะได้ประโยชน์กับทั้งทาง HKT48 ทั้งทางตัวคานอนเอง รวมไปถึงทางแฟนๆ ทุกท่านด้วย

ไหนๆ ก็ไหนๆ แล้ว ขอเล่าแถมอีกนิดนะ ที่จริงตอนก่อนที่คอนเสิร์ตจะเริ่ม ฉันได้ถามคานอนเผื่อไว้ก่อนแล้วว่า “ฉันขอแซวเรื่องคางของเธอได้มั้ย?” และเมื่อเธอบอกว่า “ได้เลยค่ะ” จึงได้ทำการแซวขึ้นมา อา... ก็เพราะสามารถพูดได้แค่เพียงว่า “ได้เลยค่ะ” นี่แหละนะ

“ตัวตน” ที่ผู้อื่นเป็นฝ่ายค้นพบ

อย่างที่คิดไว้เลย ฉันไม่ได้ออกนอกเรื่องนะคะ แต่เรื่องคาแรกเตอร์หยอกล้อมันยังมีอยู่อีกนิดหน่อยค่ะ

วง HKT48 ที่ฉันสังกัดอยู่ก็ได้รับโอกาสได้ไปออกรายการทีวีด้วยค่ะ

รายการประจำที่ยังคงออกอากาศอยู่ ณ เดือนกรกฎาคม 2014 ก็มีทั้ง “HKT48 no Odekake!” (ช่อง TBS), "HKT Variety 48” (ช่อง Kyushu Asahi), “HKT48 no Goboten!” (ช่อง TV Nishi Nippon), “HKT Shakariki 48!” (ช่อง Kyushu Asahi) และ “HKT no 「Hokamina」 ~ Sono Hoka no Minasan ~” (ช่อง NOTTV)

ฉันได้รับโอกาสทำหน้าที่เป็น MC ในรายการอยู่บ่อยครั้ง สิ่งนี้ทำให้ฉันรู้สึกแข็งแกร่งขึ้นหลังจากที่ได้ทำงานเป็น MC ด้วยตนเอง แต่ในการทำงานผ่านความคิดของคนที่เป็น MC จะต้องมีความคิดว่าเด็กคนนั้นจะได้ประโยชน์หรือเปล่า? และรายการจะได้ประโยชน์หรือเปล่านะ? อาจจะเป็นเรื่องที่โหดร้าย แต่มันคือความเป็นจริงค่ะ

ถ้าคาแรกเตอร์ที่ติดตัวในทีวีมันปังขึ้นมา ก็จะสามารถรักษาคาแรกเตอร์เอาไว้ได้แม้กระทั่งในเธียเตอร์ อีกทั้งยังสามารถเข้าไปต่อสู้อยู่ในวงการบันเทิงโดยมีคาแรกเตอร์นั้นเป็นอาวุธได้ด้วย คาแรกเตอร์ที่ติดตัวของคนที่เป็น MC ก็มาจากการที่มีคนมาพูดว่า “ในส่วนนี้ของเธอมันน่าสนใจดีนะ” ใช่มั้ยคะ? ฉันคิดว่าเราไม่ควรที่จะปฏิเสธสิ่งนั้นออกไปโดยการก้าวต่อไปข้างหน้าค่ะ

ตัวตนที่แท้จริงอะไรนั่นไม่มีอยู่หรอกนะ

ธาตุแท้ที่ว่าก็ไม่มีอยู่หรอกนะ

ฉันคิดว่า “ตัวตน” เป็นสิ่งที่ผู้อื่นเป็นฝ่ายค้นพบค่ะ

และนี่ก็เป็นบทสรุปที่กลายมาเป็นตัวฉันซึ่งเกิดจากการได้รับประสบการณ์ต่างๆ จนสามารถไปถึงจุดหมายอย่างยากลำบากค่ะ






同じカテゴリー(J-Translate)の記事
上の画像に書かれている文字を入力して下さい
 
<ご注意>
書き込まれた内容は公開され、ブログの持ち主だけが削除できます。
Information

タイのブログサイト「ナムジャイブログ」でブログを作る! タイのブログサイト「ナムジャイブログ」にログインする!

初めてのタイへの旅の不安を解決
海外進出を手厚くサポートします
< 2024年11月 >
S M T W T F S
          1 2
3 4 5 6 7 8 9
10 11 12 13 14 15 16
17 18 19 20 21 22 23
24 25 26 27 28 29 30
カテゴリ
QRコード
QRCODE
アクセスカウンタ
読者登録
メールアドレスを入力して登録する事で、このブログの新着エントリーをメールでお届けいたします。解除は→こちら
現在の読者数 104人
プロフィール
naru_sa
naru_sa
タイのサムットプラカン県に住んでいて、バンコクで働いている「ナナ」です。よろしくお願いします。(人´∀`) ☆

สวัสดีค่ะ ชื่อ "นะ" หรือ "นานะ" เป็นชาวจังหวัดสมุทรปราการ และทำงานอยู่ในกรุงเทพฯ ค่ะ ขอฝากบล็อกนี้ด้วยนะคะ (^^♪